วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ลักษณะของการฟัง
การฟังเพลงสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท
1. ฟังผ่านหู (Passive Listening) เป็นการฟังที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง มักมีกิจกรรมอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น ดนตรีสำหรับพิธีกรรมต่าง ๆ ดนตรีประกอบการแสดง เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศ ผู้ฟังไม่ให้ความสนใจในรายละเอียด หรือติดตามลีลาทำนองเพลงอย่างใกล้ชิด ทำให้ไม่สามารถเข้าใจ หรือรู้สึกกับบทเพลงนั้นได้อย่างแท้จริง
2. ฟังด้วยความรู้สึก (Sensuous Listening) มีความตั้งใจฟังมากขึ้น ผู้ฟังให้ความสนใจกับเสียงร้อง หรือเสียงเครื่องดนตรีมากกว่าลีลา หรือเรื่องราว ความหมายของบทเพลง อาจเป็นเพราะนักร้องมีเสียงที่ดี แปลก หรือเสียงเครื่องดนตรีแปลกใหม่ เป็นที่น่าสนใจ การฟังระดับนี้เป็นเป็นการฟังเสียงที่มากกว่าการฟังที่อารมณ์เพลง แต่ยังไม่สามารถเข้าใจสาระของเพลงเท่าใดนัก
3. ฟังด้วยอารมณ์ (Emotional Listening) เป็นการฟังที่ผู้ฟังต้องการเสพบรรยากาศหรืออารมณ์ของเพลงนั้น ๆ เช่น การฟังเพลงปลุกใจ การฟังในลักษณะนี้ผู้ฟังจะได้บรรยากาศ อารมณ์ หรือเนื้อหามากกว่าสองอย่างที่กล่าวมา แต่ยังขาดการเอาใจใส่ที่จดจ่อต่อรายละเอียดต่าง ๆ การฟังยังฟังแต่สิ่งที่ต้องการฟังเท่านั้น สิ่งอื่น ๆ จึงปล่อยผ่านไป
4. ฟังด้วยอารมณ์ซาบซึ้ง (Perceptive Listening) ผู้ฟังใช้สมาธิในการฟังเป็นอย่างมาก เพื่อจะรับรู้และเข้าใจเพลงนั้นทั้งหมด ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อได้ยินลีลา จังหวะ ทำนอง ก็จดจำ และใช้สัญชาตญาณทางดนตรีที่มีอยู่ในทุกคน เป็นเครื่องมือช่วยสร้างความเข้าใจในบทเพลงนั้น การฟังระดับนี้ผู้ฟังจะได้รับรสชาติมากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถหยั่งรู้ถึง ลีลา ศิลปะ จินตนาการในการแต่งของผู้ประพันธ์เพลง ศิลปะการบรรเลงของนักดนตรี นับว่าเป็นการฟังในขั้นที่ผู้ฟังสามารถได้รับประโยชน์มากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการจินตนาการของผู้ฟังและความเข้าใจในบทเพลงที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การสร้างรสนิยมดนตรีในการฟัง
การรับรู้ถึงศิลปะ และการที่มนุษย์จะนำเอาดนตรีที่มีคุณค่ามาใช้ในชีวิตประจำวันได้นั้น ต้องอาศัยการฟังดนตรีรูปแบต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความงามของเสียงดนตรี ผู้ฟังต้องอาศัยการฟังที่ใช้สมาธิอย่างมาก จึงจะได้รับประโยชน์จากการฟังดนตรี
การสร้างรสนิยมที่ดีในการฟังดนตรี มีส่วนช่วยส่งเสริมการฟัง และปลูกฝังรสนิยมที่ดีในการฟังเพลงให้บุคคลสามารถฟังดนตรีต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น Classical Music, Light Music, Popular Music, Jazz และ Folk Song โดยการปลูกฝังการฟัง และฝึกฟัง ดังนี้
1. ฟังดนตรีที่ฟังง่าย ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
2. ฟังเพลงประสมวงที่มีเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น
3. ฟังเพลงเดียวกันจากหลาย ๆ วง เพื่อเปรียบเทียบฝีมือ
4. ศึกษาทฤษฎีดนตรี หาความรู้เกี่ยวกับประวัติเพลง ผู้บรรเลง และฝึกวิจารณ์
5. ฟังเพลงที่มีการบรรเลงซับซ้อน จากวงดนตรีประเภท มโหรี ปี่พาทย์ วงแซมเบอร์ สตริงคอมโบ และวงดุริยางค์
6. ศึกษาทฤษฎีดนตรี ถ้าได้ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีด้วยก็ยิ่งดี
การฟังเพลงสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท
1. ฟังผ่านหู (Passive Listening) เป็นการฟังที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง มักมีกิจกรรมอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น ดนตรีสำหรับพิธีกรรมต่าง ๆ ดนตรีประกอบการแสดง เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศ ผู้ฟังไม่ให้ความสนใจในรายละเอียด หรือติดตามลีลาทำนองเพลงอย่างใกล้ชิด ทำให้ไม่สามารถเข้าใจ หรือรู้สึกกับบทเพลงนั้นได้อย่างแท้จริง
2. ฟังด้วยความรู้สึก (Sensuous Listening) มีความตั้งใจฟังมากขึ้น ผู้ฟังให้ความสนใจกับเสียงร้อง หรือเสียงเครื่องดนตรีมากกว่าลีลา หรือเรื่องราว ความหมายของบทเพลง อาจเป็นเพราะนักร้องมีเสียงที่ดี แปลก หรือเสียงเครื่องดนตรีแปลกใหม่ เป็นที่น่าสนใจ การฟังระดับนี้เป็นเป็นการฟังเสียงที่มากกว่าการฟังที่อารมณ์เพลง แต่ยังไม่สามารถเข้าใจสาระของเพลงเท่าใดนัก
3. ฟังด้วยอารมณ์ (Emotional Listening) เป็นการฟังที่ผู้ฟังต้องการเสพบรรยากาศหรืออารมณ์ของเพลงนั้น ๆ เช่น การฟังเพลงปลุกใจ การฟังในลักษณะนี้ผู้ฟังจะได้บรรยากาศ อารมณ์ หรือเนื้อหามากกว่าสองอย่างที่กล่าวมา แต่ยังขาดการเอาใจใส่ที่จดจ่อต่อรายละเอียดต่าง ๆ การฟังยังฟังแต่สิ่งที่ต้องการฟังเท่านั้น สิ่งอื่น ๆ จึงปล่อยผ่านไป
4. ฟังด้วยอารมณ์ซาบซึ้ง (Perceptive Listening) ผู้ฟังใช้สมาธิในการฟังเป็นอย่างมาก เพื่อจะรับรู้และเข้าใจเพลงนั้นทั้งหมด ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อได้ยินลีลา จังหวะ ทำนอง ก็จดจำ และใช้สัญชาตญาณทางดนตรีที่มีอยู่ในทุกคน เป็นเครื่องมือช่วยสร้างความเข้าใจในบทเพลงนั้น การฟังระดับนี้ผู้ฟังจะได้รับรสชาติมากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถหยั่งรู้ถึง ลีลา ศิลปะ จินตนาการในการแต่งของผู้ประพันธ์เพลง ศิลปะการบรรเลงของนักดนตรี นับว่าเป็นการฟังในขั้นที่ผู้ฟังสามารถได้รับประโยชน์มากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการจินตนาการของผู้ฟังและความเข้าใจในบทเพลงที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การสร้างรสนิยมดนตรีในการฟัง
การรับรู้ถึงศิลปะ และการที่มนุษย์จะนำเอาดนตรีที่มีคุณค่ามาใช้ในชีวิตประจำวันได้นั้น ต้องอาศัยการฟังดนตรีรูปแบต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความงามของเสียงดนตรี ผู้ฟังต้องอาศัยการฟังที่ใช้สมาธิอย่างมาก จึงจะได้รับประโยชน์จากการฟังดนตรี
การสร้างรสนิยมที่ดีในการฟังดนตรี มีส่วนช่วยส่งเสริมการฟัง และปลูกฝังรสนิยมที่ดีในการฟังเพลงให้บุคคลสามารถฟังดนตรีต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น Classical Music, Light Music, Popular Music, Jazz และ Folk Song โดยการปลูกฝังการฟัง และฝึกฟัง ดังนี้
1. ฟังดนตรีที่ฟังง่าย ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
2. ฟังเพลงประสมวงที่มีเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น
3. ฟังเพลงเดียวกันจากหลาย ๆ วง เพื่อเปรียบเทียบฝีมือ
4. ศึกษาทฤษฎีดนตรี หาความรู้เกี่ยวกับประวัติเพลง ผู้บรรเลง และฝึกวิจารณ์
5. ฟังเพลงที่มีการบรรเลงซับซ้อน จากวงดนตรีประเภท มโหรี ปี่พาทย์ วงแซมเบอร์ สตริงคอมโบ และวงดุริยางค์
6. ศึกษาทฤษฎีดนตรี ถ้าได้ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีด้วยก็ยิ่งดี
วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยความงาม รวมถึงความงามที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้น
ประโยชน์ของสุนทรียศาสตร์
1.ทำให้คนมีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี มองอย่างมีเหตุผล
2.ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
3.ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
4.สร้างเสริมประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวาง เพื่อดำรงอย่างสันติสุข
5.ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและสามารถบูรณาการ เพื่อประยุกต์ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน
ประโยชน์ของสุนทรียศาสตร์ต่อวิชาชีพพยาบาล
วิชาชีพพยาบาลเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความงามทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การที่มีผู้มารับบริการมาใช้บริการรักษาพยาบาล หากพยาบาลมีจิตใจอ่อนโยน นุ่มนวลก็จะทำให้ผู้มาใช้บริการรู้สึกสดชื่น มีความสุขไปด้วย
ประโยชน์ของสุนทรียศาสตร์
1.ทำให้คนมีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี มองอย่างมีเหตุผล
2.ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
3.ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
4.สร้างเสริมประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวาง เพื่อดำรงอย่างสันติสุข
5.ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและสามารถบูรณาการ เพื่อประยุกต์ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน
ประโยชน์ของสุนทรียศาสตร์ต่อวิชาชีพพยาบาล
วิชาชีพพยาบาลเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความงามทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การที่มีผู้มารับบริการมาใช้บริการรักษาพยาบาล หากพยาบาลมีจิตใจอ่อนโยน นุ่มนวลก็จะทำให้ผู้มาใช้บริการรู้สึกสดชื่น มีความสุขไปด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)